ประวัติความเป็นมาของมวยไทย
มวยไทยเริ่มขึ้นในสมัยไม่ปรากฏ และไม่มีหนังสือเล่มใดเขียนไว้ว่าจะเกิดขึ้นในสมัยใด แต่เท่าที่ได้ปรากฏนั้นมวยไทยได้เกิดขึ้นมานานแล้วและอาจเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับชาติไทย เพราะมวยไทยนั้นเป็นศิลปะประจำชาติไทยเราจริงๆยากที่ชาติอื่นจะลอกเลียนแบบได้

ต่อมาเมื่อในหมู่ทหารได้มีการฝึกถีบเตะแล้วก็เกิดมีผู้คิดว่าทำอย่างไรจึงจะใช้การถีบเตะนั้นมาเป็นศิลปะสำหรับการต่อสู้ด้วยมือได้ จึงต้องให้มีผู้ที่จะคิดจะฝึกหัดการต่อสู้ป้องกันตัวสำหรับการใช้แสดงเวลามีงานเทศกาลต่างๆไว้อวดชาวบ้านและเป็นของแปลกสำหรับชาวบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้นานเข้า ชาวบ้านหรือคนไทยได้เห็นการถีบเตะแพร่หลายและบ่อยครั้งเข้า

ดังนั้นมวยไทยในสมัยนั้นจึงฝึกเพื่อความหมาย ๒ อย่างคือ
๑. เพื่อไว้สำหรับสู้รบกับข้าศึก
๒. เพื่อไว้ต่อสู้ป้องกันตัว
การจัดการแข่งขันมวยไทย
1. สมัยสวนกุหลาบ สมัยนี้ประชาชนนิยมการชกมวย และชมการแข่งขันชกมวยกันเป็นจำนวนมาก การชกมวยไทยในสมัยนี้ยังมีการคาดเชือก
2. สมัยท่าช้าง ในสมัยนี้เป็นสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ จากการคาดเชือกมาเป็นสวมนวม
(พ.ศ. 2462) สมัยนี้ได้ดำเนินการจัดการแข่งขันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรในที่สุดสนามก็เลิกไป กรรมการ
3. สมัยสวนสนุก การจัดการแข่งขันในสมัยนี้นายสนามดำเนินงานได้ดี และยืนยาวอยู่หลายปี
นักมวยที่มีชื่อเสียง เช่น สมาน ดิลก-วิลาศ และสมพงศ์ เวชชสิทธิ์ สมัยนี้มีการแข่งขันทั้งมวยไทยและมวยสากล กรรมการผู้ตัดสินที่มีชื่อเสียง ได้แก่ หลวงพิพัฒน์ พลกาย
นายสุนทร ทวีสิทธิ์ (ครูกิมเส็ง) และ นายนิยม ทองชิตร์
4. สมัยหลักเมืองและสวนเจ้าเชษฐ์ การแข่งขันชกมวยในสมัยนี้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพราะทางราชการทหารเข้ามาร่วมมือช่วยเหลือและมีผลเป็นรายได้บำรุงกองทัพจำนวนมาก
5. สมัยปัจจุบัน ได้ทำการแข่งขัน ณ เวทีราชดำเนินและเวทีลุมพีนีเป็นประจำ และยังมีเวทีมวยที่เปิดการแข่งขันถาวรและชั่วคราวทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดอีกมากมาย
ดูข่าวเพิ่มเติม